ตชส. ตำรวจชุมชนสัมพันธ์ - ninesonson.blogspot.com

ตชส. ตำรวจชุมชนสัมพันธ์

ตชส. ตำรวจชุมชนสัมพันธ์

ตชส. หรือ ตำรวจชุมชนสัมพันธ์ หมายถึง ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน กล่าวคือ
“หลักการ การทำงานของตำรวจ เพื่อส่งเสริม, สนับสนุน, แก้ต้นเหตุ เพื่อลดปัญหาอาชญากรรม ปัญหาความไม่เป็นระเบียบของชุมชน โดยเทคนิคการแก้ต้นเหตุของปัญหา ว่าด้วย ความร่วมมือระหว่างตำรวจและชุมชน”

เป็นแนวคิดเริ่มต้นจาก เซอร์ โรเบิร์ต พีล ผู้ก่อตั้ง ตำรวจมหานครลอนดอน หรือ สก็อต แลนด์ยาร์ด
เจ้าของคำพูดที่ว่า “ตำรวจคือประชาชน ประชาชนคือตำรวจ”  (The Police are the public and the public are the police)


ตชส. ตำรวจชุมชนสัมพันธ์

 แนวคิดและหลักการทำงานของตำรวจผู้รับใช้ชุมชน คือ แนวคิด และ หลักการทำงานใหม่ ของตำรวจ เพิ่มเติมจากการทำงานแบบเดิม ที่มุ่งเพียง มีสายตรวจป้องกัน หรือ แก้ไข เหตุร้าย และ สืบสวนจับกุมผู้กระทำความผิด เท่านั้น



ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน หรือ ตำรวจชุมชนสัมพันธ์ เป็นการแก้ไขปัญหาเชิงกลยุทธ์ เพื่อป้องกันและควบคุมอาชญากรรม และลดความหวาดกลัวภัยอาชญากรรม ซึ่งมีสาระสำคัญ 4 ประการ ได้แก่
1. การขยายขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบของงานตำรวจให้กว้างขวางขึ้น
2. การให้ความสำคัญอย่างเน้นหนัก ในการติดต่อสัมพันธ์กันระหว่างตำรวจกับประชาชน
อย่างใกล้ชิด ลึกซึ้ง สม่ำเสมอ และต่อเนื่องตลอดไป
3. การให้ความสนใจเพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ในการแก้ไขปัญหาและการป้ องกัน
อาชญากรรม
4. ความพยายามที่จะปรับปรุงโครงสร้างการบริหารงานของตำรวจ เพื่อกระจายการให้บริการ และ การวางแผนระดับชุมชน ให้ดีมากยิ่งขึ้น


หลักการสำคัญ ของตำรวจผู้รับใช้ชุมชน

หลักการสำคัญ ของตำรวจผู้รับใช้ชุมชน ประกอบด้วยหัวข้อใหญ่ ๆ 2 ข้อ คือ
ข้อแรก คือ ตำรวจ เป็นหุ้นส่วนกับประชาชน เกาะติดพื้นที่อย่างทั่วถึง
ข้อที่สอง คือ ตำรวจนำชุมชนและหน่วยงานอื่นแก้ต้นเหตุ อาชญากรรม หรือ ความไม่เป็นระเบียบในชุมชน

หลักการสำคัญของตำรวจผู้รับใช้ชุมชน 2 ข้อดังกล่าว แยกย่อยได้ 10 หลักการ ดังนี้ (บัญญัติ 10 ประการของ ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน)

1. การนำหลักการตำรวจผู้รับใช้ชุมชน เป็นแนวคิด หรือ กลยุทธ์หลัก ในการทำงาน (Core Strategy)

ที่ตำรวจทุกคนในองค์กร หรือ หน่วยตำรวจ จะต้องนำไปใช้เป็นหลักในการทำงาน ตั้งแต่หัวหน้าหน่วย หรือ ผู้บังคับบัญชาทุกระดับชั้น จนถึงตำรวจทุกฝ่ายทุกแผนก (ไม่ใช่มีความคิดว่า เฉพาะ ตชส. หรือ ตำรวจชุดชุมชนสัมพันธ์ เท่านั้น ที่ต้องมีความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน แต่ พนักงานสอบสวน ที่เป็นร้อยเวรสอบสวน หรือตำรวจสายตรวจ ไม่สนใจรับฟังแก้ไขปัญหา ความเดือดร้อนของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อมีประชาชนมาแจ้งความ) การจะแสดงออกว่า หน่วยตำรวจใด นำแนวคิดตำรวจผู้รับใช้ชุมชน ไปเป็นแนวคิดหลัก ในการทำงานหรือไม่ ให้ดูจากการกำหนดวิสัยทัศน์ ค่านิยมของหน่วย ว่ามีการกำหนดแนวคิดหลัก ในการทำงานร่วมมือกับประชาชน  เพื่อให้ประชาชนศรัทธา หรือ ใช้พลังมวลชน มาร่วมกันแก้ไขปัญหาอาชญากรรมหรือไม่ หรือมีนโยบาย ยุทธศาสตร์ ในการนำหลักการ ตำรวจผู้รับใช้ชุมชนทั้ง 10 ข้อนี้ ไปกำหนดหรือนำไปใช้ เป็นหลักในการทำงานหรือไม่ งานตำรวจผู้รับใช้ชุมชน ไม่ใช่โครงการชั่วคราว ที่หมดเวลา หรือเงินงบประมาณแล้วเลิกทำ เช่น โครงการปราบโจรฤดูแล้ง หรือโครงการนำตำรวจ ไปทำบุญร่วมกับประชาชน
ทุกวันพระ เป็นต้น แต่เป็นหลักการทำงานสำคัญ ที่ต้องทำตลอดไป จึงจะเป็น “ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน”

2. การกระจายอำนาจให้ตำรวจผู้ปฏิบัติงาน (Decentralized)

ตำรวจสายตรวจ หรือตำรวจที่ทำงาน สัมผัสกับประชาชน เช่น สายตรวจตำบล หรือตำรวจที่รับผิดชอบพื้นที่ จะต้อง ได้รับการกระจายอำนาจ หรือ มีอำนาจในการนำเสนอ ในการตัดสินใจ ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ร่วมกับชุมชนให้ได้มากที่สุด
แทนวิธีการทำงานแบบเดิม ที่อำนาจการตัดสินใจ แก้ไขปัญหาต่าง ๆ อยู่ที่ส่วนกลาง เช่น ปัจจุบันหน่วยงานตำรวจไทย มอบอำนาจให้ หัวหน้าสถานีตำรวจ มีอำนาจมากขึ้นกว่าเดิมมาก เช่น การสั่งคดี การปล่อยชั่วคราว การอนุมัติให้ข้าราชการตำรวจ เดินทางไปราชการ เป็นต้น

3. การเกาะติดพื้นที่ และกระจายความรับผิดชอบให้ตำรวจแต่ละพื้นที่ (Fixed Geographic &Accountability)

ในระบบตำรวจผู้รับใช้ชุมชน ตำรวจทุกคน ไม่ว่าสายตรวจรถยนต์ สายตรวจ รถจักรยานยนต์ สายตรวจตำบล หรือตำรวจประจำตู้ยาม ฝ่ายอำนวยการ หรือผู้บังคับบัญชาระดับต่าง ๆ จะได้รับมอบ การกระจายอำนาจให้แบ่งรับผิดชอบพื้นที่ เป็นระยะเวลานาน ๆ เช่นจะไม่เปลี่ยนสายตรวจแต่ละผลัด หรือ แต่ละเขตบ่อย จนทำให้ตำรวจสายตรวจไม่มีความคุ้นเคย หรือชาวบ้าน “ไม่เชื่อใจ” หรือเห็น
ตำรวจเป็นคนแปลกหน้า โดยควรจัดตำรวจแบบ “เกาะติดพื้นที่” การแบ่งมอบพื้นที่หรือเขตตรวจ ยึดถือชุมชนเป็นหลัก มากกว่า สถิติคดี

4. ใช้พลังความร่วมมือ ของประชาชน และ อาสาสมัคร (Volunteers)

ในระบบตำรวจผู้รับใช้ชุมชน มุ่งเน้นให้มีการ ใช้ความร่วมมือจากประชาชน ในรูปของการเป็นอาสาสมัครในรูปแบบต่าง ๆ ตามที่ชุมชน หรือ ในพื้นที่ๆมีต้นทุนทางสังคม หรือมีการจัดตั้ง หรือมีความเหมาะสม ตำรวจมีหน้าที่ให้ความรู้ และ สร้างความร่วมมือ กำหนดวิธีการจัดตั้ง เพื่อประชาชนจะได้เข้ามาช่วยเหลือ งานป้องกันอาชญากรรม และ แก้ไขความไม่เป็นระเบียบของชุมชน ตามความเหมาะสม ซึ่งจะทำให้ตำรวจมีเวลาไปทำงานป้ องกันปราบปรามอาชญากรรมอื่นได้มากขึ้น
รูปแบบของอาสาสมัครจะต่างไปในแต่ละพื้นที่ ชุมชน บางแห่งอาจจะเป็นการใช้อาสาสมัครที่มีหน่วยงานอื่น จัดตั้งไว้แล้ว หรือ ตำรวจจัดตั้งขึ้นเอง แล้วแต่ความเหมาะสมของพื้นที่และชุมชน และ ความพร้อมของสภาพชุมชน เช่น อาสาสมัครตำรวจชุมชนสัมพันธ์ (ตชส.), สมาชิกแจ้งข่าวอาชญากรรม, เหยี่ยวเวหา, อาสาจราจร, ตำรวจบ้าน สายตรวจประชาชน, สมาชิกกู้ภัย, สมาชิกชมรมเพื่อนบ้านเตือนภัย, อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) และ ลูกเสือชาวบ้าน เป็นต้น

5. ใช้ผู้สนับสนุน (Enhancer)

ในระบบตำรวจชุมชน ตำรวจจะต้องหาความร่วมมือ ในการสนับสนุนงานตำรวจจากชุมชน และ องค์กรปกครองในพื้นที่ ไม่เฉพาะงานหลัก คือการป้องกันอาชญากรรม หรือ การเป็นอาสาสมัคร ในการป้องกันอาชญากรรมเท่านั้น แต่ ในระบบตำรวจชุมชน หน่วยตำรวจ จะต้องแสวงหาทรัพยากร จากชุมชนมาช่วยเหลืองานตำรวจอื่น ๆ เช่น การจัดอาสาสมัครช่วยแจ้งข่าวเว็บไซด์ลามก การให้ประชาชนเป็นอาสาสมัคร ประชาสัมพันธ์ช่วยเหลือ บริการผู้มาแจ้งความที่สถานีตำรวจ การจัดอาสาสมัคร ช่วยรับโทรศัพท์ที่ศูนย์วิทยุ การจัดอาสาสมัคร ลงข้อมูลสถิติคดี การจัดคณะกรรมการหาทุนช่วยเหลือ เหยื่ออาชญากรรม และการรับการสนับสนุนงบประมาณ จากชุมชน หรือ ท้องถิ่น เพื่อช่วยเหลืองานตำรวจในด้านต่าง ๆ

6. การบังคับใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือแก้ปัญหาชุมชน (Law Enforcement)

งานตำรวจชุมชนยังถือว่า การสืบสวน จับกุมคนร้าย เป็นเครื่องมือสำคัญในการแก้ไขปัญหาอาชญากรรม และ ปัญหาความไม่เป็นระเบียบในชุมชน โดยเน้น การจับกุม เพื่อแก้ปัญหา ที่ถือเป็นความเดือดร้อนของชุมชนเป็นลำดับแรกสุด และ ตำรวจมีหน้าที่ในการรักษาความสมดุลระหว่าง การบังคับใช้กฎหมายหรือการจับกุม กับความร่วมมือ ของชุมชน ในการแก้ไขต้นเหตุของปัญหาอาชญากรรม หรือความไม่เป็นระเบียบของชุมชน

7. เน้นป้องกันปัญหาอาชญากรรมมากกว่ารอให้เกิดเหตุ (Proactive Crime Prevention)

การตำรวจผู้รับใช้ชุมชน มุ่งเน้นในการทำงานเพื่อป้องกันไม่ให้อาชญากรรมเกิด มากกว่าการรอให้อาชญากรรมเกิดขึ้นแล้วจึงคิดติดตามจับกุมคนร้ายเพื่อฟ้องศาล กิจกรรมส่วนใหญ่ของตำรวจที่ทำร่วมกับชุมชน คือ สนับสนุนให้ชุมชน มีความเข้มแข็ง ในการป้องกันอาชญากรรมด้วยชุมชนเอง โดยใช้เทคนิคแก้ที่ต้นเหตุของปัญหา การควบคุมอาชญากรรม จากสภาพแวดล้อม การจัดระบบเพื่อนบ้านเตือนภัย หรือ จัดสายตรวจประชาชน เป็นต้น เพื่อมุ่งเป้าประสงค์ในการลดอาชญากรรม และ ความหวาดกลัวภัยอาชญากรรม

8. ใช้เทคนิคแก้ปัญหา ( Problem Solving)

ตำรวจ สมาชิกชุมชน และ หน่วยงานอื่นๆทำงานร่วมกัน เพื่อกำหนด ต้นเหตุของปัญหาอาชญากรรมที่เกิดขึ้นในชุมชน หรือปัญหาความไม่เป็นระเบียบในชุมชน (Scanning) แล้ววิเคราะห์สาเหตุของปัญหา (Analysis) แสวงหาแนวทางในการแก้ไขปัญหา (Response) ดำเนินการแก้ไขปัญหา แล้วประเมินผล (Assessment) เทคนิคในการแก้ปัญหานี้ เป็นการระดมความร่วมมือระหว่างตำรวจกับชุมชน เป็นการคิดแก้ปัญหานอกกรอบความคิดการทำงานแบบเดิมของตำรวจ ที่ถือว่า การสืบสวนจับกุมคนร้ายได้ ก็นับเป็นการบรรลุภารกิจแล้ว แต่ถ้าตำรวจมีแนวคิด และ ทำงานตามความเชื่อแบบเดิม ปัญหาอาชญากรรมหรือความเดือดร้อนของชุมชนก็จะกลับมาอีก เพราะการจับกุมคนร้าย ไม่ใช่ การแก้ต้นเหตุของปัญหาที่แท้จริง การใช้เทคนิคแก้ปัญหาลักษณะนี้ ควรถือเป็นหลักการสำคัญ เพราะที่ผ่านมา ประเทศไทย เคยใช้ ชุดชุมชนมวลชนสัมพันธ์ เข้าไปสร้างความสัมพันธ์ที่ดี ระหว่างตำรวจกับประชาชนได้แล้ว แต่ ไม่ได้นำชุมชน มาระดมความร่วมมือกับตำรวจ ในการแก้ไขปัญหาอาชญากรรม หรือ ความเดือดร้อนของชุมชน

9. การเป็นหุ้นส่วนและสร้างความร่วมมือระหว่างตำรวจและชุมชน (Partnerships)

ในระบบตำรวจชุมชน ประชาชนในชุมชน คือ หุ้นส่วนของตำรวจ ในการร่วมรับผิดชอบป้องกันอาชญากรรม หรือ ปัญหาความไม่เป็นระเบียบในชุมชน (ไม่ใช่เป็นปัญหาของตำรวจฝ่ายเดียว) ตำรวจและประชาชนในชุมชนต้องร่วมกัน สำรวจปัญหา และ ความต้องการของชุมชนเกี่ยวกับความเดือดร้อน หรือความหวาดกลัวภัย อาชญากรรม และให้ชุมชน ร่วมใช้เทคนิคแก้ปัญหา เพื่อร่วมแก้ต้นเหตุปัญหาความเดือดร้อนจากอาชญากรรมดังกล่าว และ ตำรวจ ต้องสร้างความร่วมมือ หรือ เป็นแกนนำในการระดมทรัพยากร/ความร่วมมือ หรือ ให้ประชาชนร่วมเป็นอาสาสมัครเพื่อดำเนินกิจกรรม-ป้องกันอาชญากรรมได้ด้วยตัวชุมชนเอง

10. ตำรวจต้องบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (Integration)

ในการบังคับใช้กฎหมาย หรือ แก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการป้องกัน โดยเฉพาะการแก้ที่ต้นเหตุของปัญหา (ไม่ใช่เพียงแค่การจับคนร้าย) หลายกรณี ตำรวจไม่มีอำนาจหน้าที่โดยตรงจะเข้าไปจัดการได้ เช่น หอพักที่เป็นแหล่งมั่วสุม ของวัยรุ่นติดยาเสพติด เจ้าหน้าที่พัฒนาสังคม และ ทรัพยากรมนุษย์ หรือ ประชาสงเคราะห์ มีหน้าที่ตามกฎหมาย
โดยตรงในการจัดระเบียบ หรือ การติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่าง บริเวณที่เกิดเหตุชิงทรัพย์หรือข่มขืนเสมอ ๆ เป็นอำนาจหน้าที่ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การถอนใบอนุญาตให้บุคคล ที่มีพฤติการณ์ลักเล็กขโมยน้อย มี และ ใช้อาวุธปืน เป็นอำนาจของนายทะเบียนอาวุธปืน คือนายอำเภอท้องที่ (ต่างจังหวัด) การอนุญาตให้ รถเร่ขายสุราตามงานเทศกาลหรืองานรื่นเริงต่าง ๆ ที่เป็นต้นเหตุ ให้วัยรุ่นซื้อสุราได้ทุกเวลา นำไปสู่เหตุทำร้ายร่างกาย เป็นอำนาจของสรรพสามิต รถที่หายส่วนมากเป็นรถจักรยานยนต์ใหม่ ที่ยังไม่ได้รับป้ายทะเบียนจากหน่วยงานขนส่งทางบก และสถานที่ที่หายมากสุดคือตลาดนัด ที่ฝ่ายพาณิชย์จังหวัดมีอำนาจ กำหนดเงื่อนไขอนุญาต ให้เปิดตลาดนัดได้ ดังนี้เป็นต้น

ที่มา : http://highwaypolice.org/theory/File1.pdf




ตชส. ตำรวจชุมชนสัมพันธ์ ตชส. ตำรวจชุมชนสัมพันธ์ Reviewed by ninesonson on กรกฎาคม 27, 2555 Rating: 5
ขับเคลื่อนโดย Blogger.