ยาหมดอายุดูยังไง เป็นอันตรายหรือไม่ - ninesonson.blogspot.com

ยาหมดอายุดูยังไง เป็นอันตรายหรือไม่

ยาหมดอายุดูยังไง เป็นอันตรายหรือไม่

นพ.วิทิต อรรถเวชกุล ผู้อำนวยการองค์การ เภสัชกรรม (อภ.) แนะวิธีการดูวันหมดอายุของยาว่า เป็นที่คาดว่าตัวยาสำคัญ​ ที่ใช้ในการรักษาโรค​ ของยานั้นๆ เหลือปริมาณน้อยกว่า ร้อยละ 90 ของปริมาณที่กำหนด​ ในสูตรตำรับนั้นๆ ดังนั้นเพื่อประสิทธิภาพ​ และ​ความปลอดภัยในการใช้ยา ควรสังเกตว่า​ ยาต่างๆ ที่ได้รับนั้น​ หมดอายุหรือยัง เนื่องจาก​ หากใช้ยาที่หมดอายุ​ หรือ​ เสื่อมคุณภาพลง นอกจากจะไม่มีผลในการรักษาแล้ว ยังอาจทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้

การสังเกตวันหมดอายุของยา​ เป็นหลักการเดียวกันกับอาหาร หรือผลิตภัณฑ์ในชีวิตประจำวัน​ ที่เราคุ้นเคย โดยทั่วไป​ การกำหนดวันหมดอายุ​ จะขึ้นอยู่​กับ​ ประเภทของยา เช่น ยาเม็ดจะไม่เกิน 5 ปี ส่วนยาน้ำ 2-3 ปี นับจากวันผลิต อย่างไรก็ตาม การกำหนดอายุยา​ อาจแตกต่างไปจากนี้ได้ โดยผู้ผลิต​ จะพิจารณาจากสารเคมีที่ใช้ ข้อมูลการทดสอบความคงตัว หรือส่วนประกอบที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละบริษัท
ซึ่งจะพบวันผลิต manufacturing date หรือ mfd.date และ​ วันหมดอายุ exp.date, exp, expiring, use by หรือ use before บางครั้งก็อาจใช้คำว่า ยาสิ้นอายุ สามารถดูข้อมูลเหล่านี้​ จากกล่องบรรจุ ฉลากยา หรือบนแผงยา ตำแหน่งมักเป็นบริเวณ​ บนแผงยา ด้านใต้กล่อง หรือ​ ด้านล่างฉลากของยานั้นๆ

สำหรับการอ่านวันหมดอายุแบบไทยๆ จะเริ่มจากวัน เดือน ปี อาจจะ พ.ศ. หรือ ค.ศ. ก็ได้ แต่ถ้ามีเฉพาะเดือน และ​ ปี ให้นับวันสุดท้ายของเดือนนั้นๆ เป็นวันหมดอายุ เช่น exp. date 27/2/2555 หมายถึง วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2555 หรือ exp. date 17.2.13 หมายถึงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ.2013 หรือ exp.04/14 หมายถึงวันที่ 30 เดือนเมษายน ค.ศ.2014 เป็นต้น

ส่วนยาที่แบ่งบรรจุ หรือ​ ยาที่เปิดใช้แล้ว หากมีการเปิดใช้ หรือ​ นำยามาแบ่งจากภาชนะเดิม เช่น ยานับเม็ด หรือ​ ครีมที่ป้ายมาจากกระปุกใหญ่ ยาน้ำในขวดพลาสติก จะส่งผลให้วันหมดอายุของยาเปลี่ยนแปลงไป ไม่ใช่วันหมดอายุที่กำหนดโดยบริษัทผู้ผลิต ซึ่งวันหมดอายุของยาเหล่านี้จะต้องกำหนดวันหมดอายุขึ้นใหม่ โดยนับจากวันที่แบ่งบรรจุ 1 ปี​ ซึ่งถ้าได้รับจากสถานพยาบาล​ ก็จะมีการระบุไว้เช่นกัน ดังนั้นหากเหลือยาเก็บไว้ที่บ้าน​ ไม่รู้ว่าจะหมดอายุเมื่อไร ไม่มีการเขียนไว้​ ก็อาจพิจารณาจากวันที่บนฉลากยา​ หรือ​ ซองที่ระบุวันที่ที่​ได้รับมา หากยาเม็ดเกิน 1 ปี หรือยาน้ำเกิน 6 เดือน​ ก็ให้ทิ้งไปไม่ควรนำใช้ต่อ

อย่างไรก็ตาม หากพบว่าแม้ไม่ถึง 1 ปี หรือ​ ก่อนกำหนดเวลา​ แต่ยาเสื่อมสภาพ เม็ดยากร่อน ร่อน ยาน้ำสีเปลี่ยน มีกลิ่นผิดไป เหม็น เขย่าไม่เข้ากันเป็นเนื้อเดียว หรือ​ ครีมแยกชั้นควรทิ้งโดยแยกใส่ถังขยะอันตรายเท่านั้น

อีกกรณีหนึ่ง คือ​ ยาเหลือใช้ที่มีอยู่ในครัวเรือนไม่ว่าจะเป็นยาที่แพทย์จ่ายหรือ​ ยาที่ซื้อจากร้านขายยาแล้ว ยาที่ผู้ป่วยไม่ได้ใช้​ ตามที่แพทย์สั่ง ยาที่ใช้สำหรับรักษาตามอาการ​ แต่ปัจจุบันไม่มีอาการดังกล่าว เช่น คลื่นไส้ อาเจียน หรือ​ เป็นยาที่ได้มาซ้ำซ้อน ไม่ควรใช้ยาดังกล่าวกับบุคคลในครอบครัว​ หรือ​ ผู้อื่น แม้จะมีอาการคล้ายกับที่เราเคยป่วย​ แต่อาการของผู้ป่วย จะมีอาการคล้ายกับที่เราเคยป่วย​ แต่อาการของโรคอายุของผู้ป่วย​ การแพ้ยาของแต่ละคน​ จะแตกต่างไม่เหมือนกัน อาจส่งผลร้ายในการใช้ยา ดังนั้น ควรปรึกษาเภสัชกรประจำร้านยา หรือพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรคจะเกิดผลดีต่อการรักษาอาการ

เมื่อรู้แบบนี้แล้ว  เราไม่ควรทานยา ที่หมดอายุ หรือ​ เสื่อมสภาพ​ เพราะจะก่อให้เกิดอันตราย​ต่อตัวเราเองได้

ขอบคุณ​ภาพ​ และ​ ข้อมูลจาก : Clubคนรักสุขภาพ

ยาหมดอายุดูยังไง เป็นอันตรายหรือไม่ ยาหมดอายุดูยังไง เป็นอันตรายหรือไม่ Reviewed by ninesonson on กันยายน 01, 2559 Rating: 5
ขับเคลื่อนโดย Blogger.