ปฏิเสธอย่างไรให้ตัวเราเองรู้สึกผิดน้อยที่สุด - ninesonson.blogspot.com

ปฏิเสธอย่างไรให้ตัวเราเองรู้สึกผิดน้อยที่สุด

ปฏิเสธอย่างไรให้ตัวเราเองรู้สึกผิดน้อยที่สุด

การพูดคำ ปฏิเสธ

ขึ้นชื่อว่าคนไทย ไม่ว่าจะยุคสมัยไหนมักจะอยู่คู่กับความมีน้ำใจ การช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ถึงแม้ว่าปัจจุบันนี้โลกจะเปลี่ยนไปมากก็ตามและคนเห็นแก่ตัวก็มีมากขึ้น แต่ความมีน้ำใจของคนไทยที่ถูกปลูกฝังมาอย่างยาวนาน ก็ยังมีอยู่มากมาย แต่ทุกวันนี้ด้วยสถานการณ์ต่างๆ การไม่ปฏิเสธอะไรเลยก็อาจจะเป็นผลร้ายต่อตัวเราได้เช่นกัน แม้กระทั่งการโดนเอารัดเอาเปรียบ แต่บางครั้ง บางคนก็เป็นคนขี้เกรงใจรู้สึกผิดที่จะต้องปฏิเสธ วันนี้เราเลยมีวิธีปฏิเสธโดยที่ไม่น่าเกลียด และไม่ทำให้เรารู้สึกผิดมาฝากกันค่ะ ไปดูกันเลย!

1. อย่าปฏิเสธในทันที
เชื่อว่าหากใครเคยขออะไรให้คนอื่นช่วย แล้วเขาปฏิเสธออกมาทันที มันย่อมสร้างความเสียหายในความรู้สึกมากกว่าอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นถึงแม้ว่าเราจะทำมันไม่ได้ แต่ก็ขอว่าอย่าปฏิเสธออกมาภายในทันที อาจจะพูดในลักษณะที่ว่า "อืม...ขอคิดดูก่อนนะ" เป็นการพูดเหมือนกับว่าเราจะเก็บไปพิจารณาดูก่อน หรือ "ขอเช็กวันเวลาว่างก่อน"  แล้วค่อยตอบปฏิเสธเขาอีกครั้ง เช่น ติดธุระ ทำไม่ได้จริงๆ อะไรประมาณนี้

2. ให้ทางเลือกอื่น
เพียงแค่คุณไม่สามารถช่วยเหลือเขาได้ในครั้งนั้น ไม่ได้แปลว่าคุณจะไม่สามารถช่วยเขาได้ตลอดไป หรือช่วยในเรื่องอื่น อาจจะเป็นการปฏิเสธในประเด็น โดยยื่นข้อเสนอในเรื่องอื่นที่เราสะดวกใจ และมันอาจจะทำให้อีกฝ่ายยินดีกว่าอีกด้วย หรือ การขอเลื่อนเป็นวันอื่นแทน เพราะวันนี้เราไม่สามารถช่วยเหลือได้จริงๆ เพียงแค่นี้คนรับฟังก็ยังมีความรู้สึกว่าไม่ได้ถูกปฏิเสธไปเสียทีเดียว

3. แค่พูดมันออกไป
ไม่ว่าคุณจะรู้สึกอย่างไร คุณต้องทำให้อีกฝ่ายแน่ใจว่าคุณรู้สึกอย่างไร ปฏิเสธออกไปอย่างจริงใจและซื่อสัตย์ เช่น "ขอโทษจริงๆ นะ เราคงช่วยไม่ได้" เป็นคำพูดตรงๆ สำหรับคนที่มาขอให้เราช่วย และถ้าเขาเป็นคนดีก็คงจะเข้าใจเราและไม่ดึงดันให้เราต้องทำสิ่งนั้น ซึ่งจะเป็นการดีกว่าการรับปากไปแล้ว เราไม่ช่วย หรือไม่ทำสิ่งนั้นในภายหลัง อาจจะสร้างผลลัพธ์ที่แย่กว่า หรือในอีกแง่หนึ่ง หากคุณรู้สึกผิดที่จะปฏิเสธจนหลวมตัวรับปาก มันอาจจะกลายเป็นข้อผูกมัดที่คุณจะย้อนกลับมาเสียใจในภายหลัง


4. เห็นแก่ตัวบ้าง
คำว่าเห็นแก่ตัวอาจจะฟังดูเป็นคำศัพท์ในแง่ลบ แต่อย่างไรก็ตาม เห็นแก่ตัวบ้างนิดหน่อยอาจจะไม่ใช่เรื่องเลวร้ายอะไรนัก เพราะอาจจะทำให้เราไม่ต้องเครียด ไม่ต้องวิตกกังวล เกินความจำเป็น เพราะอย่าลืมว่า เราไม่สามารถช่วยเหลือใครได้ดีหรอก หากเรายังช่วยตัวเองไม่รอด ใช่ไหมล่ะ !

5. แสดงออกอย่างสุภาพ
ถึงแม้ว่าจะเป็นเรื่องของการปฏิเสธ ความสุภาพนั้นก็ยังนับว่าเป็นสิ่งที่ควรกระทำอยู่เสมอ อีกทั้งมันยังแสดงความเป็นมืออาชีพและความเป็นผู้ใหญ่ของคุณอีกด้วย

6. การหาเหตุผล
เมื่อคุณเกิดความรู้สึกไม่ดีหรือไม่อยากช่วย คุณก็ควรมีเหตุผลที่ดี และน่าเชื่อถือ การหาเหตุผลไม่ใช่เรื่องยากเพียงแต่คุณต้องหาเหตุผลที่เข้าใจง่าย ไม่อ้อมค้อมจนเกินไป หรือสั้นๆ จนเหมือนการปฏิเสธตรงๆ เช่น "เราคงช่วยไม่ได้จริงๆ เพราะว่า..." (ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ว่าเขาขอให้ช่วยเรื่องใด)

7. การเสนอแนะ หรือ การแนะนำ
"เราไม่่เก่งเรื่องนี้ ลองให้ ...(ชื่อคน) ช่วยดีมั้ย" ซึ่งจะมองเหมือนกับว่าเราไม่ได้ปฏิเสธ และเป็นการแนะนำให้อีกฝ่ายไปขอความช่วยเหลือจากคนอื่น เพราะเราไม่ถนัดเรื่องนั้นจริงๆ แต่ที่สำคัญคนที่เราแนะนำไปนั้นต้องถนัดกับเรื่องนั้นด้วย ไม่ใช่แนะนำไปแบบส่งๆ

การตอบตกลง หรือการยินยอมผู้อื่นมากเกินไป ทำให้เราจำเป็นต้องใช้ชีวิตอยู่กับกรอบที่คนอื่นขีดไว้อยู่เสมอ การยอมอะไรบ่อยเกินไป อาจจะทำให้คนอื่นเห็นคุณค่าในตัวคุณน้อยลง เพราะรู้ดีว่าขอหรือสั่งอะไรไป คุณก็ยอมทำตามให้อยู่แล้ว เราจึงต้องรู้จักกับคำว่า "ปฏิเสธ" บ้าง
ปฏิเสธอย่างไรให้ตัวเราเองรู้สึกผิดน้อยที่สุด ปฏิเสธอย่างไรให้ตัวเราเองรู้สึกผิดน้อยที่สุด Reviewed by ninesonson on พฤษภาคม 17, 2563 Rating: 5
ขับเคลื่อนโดย Blogger.