คุณรู้จัก "ความเครียด" ดีแค่ไหน?
"คุณเคยนอนไม่หลับเพราะคิดมากหรือกังวลใจบ้างหรือเปล่า?
เคยรู้สึกเหนื่อยหน่ายจนไม่อยากทำอะไรบ้างไหม?
เคยมีอาการปวดหรือเกร็งกล้ามเนื้อบริเวณท้ายทอย หลัง หรือไหล่ ทั้งที่ไม่ได้ใช้แรงทำอะไรเลยหรือเปล่า?"
ถ้าในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาคุณมีอาการเหล่านี้...แสดงว่าคุณกำลังเริ่มเข้าสู่ภาวะความเครียดในระยะเริ่มแรกแล้ว งั้นเรามาทำความรู้จักกันก่อนว่า “ความเครียด” คืออะไร?
ความเครียดเป็นภาวะของอารมณ์หรือความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อบุคคลต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆ และทำให้รู้สึกถูกกดดัน ไม่สบายใจ วุ่นวายใจ กลัว วิตกกังวล ตลอดจนถูกบีบคั้น เมื่อบุคคลรับรู้หรือประเมินว่าปัญหาเหล่านั้นเป็นสิ่งที่คุกคามจิตใจ หรืออาจจะก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกาย จะส่งผลให้สภาวะสมดุลของร่างกายและจิตใจเสียไป
ความเครียดแบ่งเป็น 4 ระดับ ดังนี้
1. Mild Stress เครียดระดับต่ำ
เป็นความเครียดที่ไม่คุกคามต่อการดําาเนินชีวิตอาจมีความรู้สึกเพียงแค่เบื่อหน่าย ขาดแรงกระตุ้น และมีพฤติกรรมที่เชื่องช้าลง
2. Moderate Stress เครียดระดับปานกลาง
เป็นความเครียดในระดับปกติที่ไม่ก่ออันตราย และไม่แสดงออกถึงความเครียดที่ชัดเจน ส่วนใหญ่จะสามารถปรับตัวกลับสู่ภาวะปกติได้เองจากการได้ทําากิจกรรมที่ชื่นชอบ ซึ่งช่วยคลายเครียด
3. High Stress เครียดระดับสูง
เป็นความเครียดที่เกิดจากเหตุการณ์รุนแรงหากปรับตัวไม่ได้ จะทํา าให้เกิดความผิดปกติตามมาทางร่างกาย อารมณ์ ความคิด และพฤติกรรม เช่น ปวดศีรษะ ปวดท้อง อารมณ์ฉุนเฉียวง่าย หงุดหงิด พฤติกรรมการนอนและการรับประทานอาหารเปลี่ยนไป จนมีผลต่อการดําาเนินชีวิต จึงควรหาใครสักคนคอยอยู่เป็นเพื่อนรับฟังปัญหา และระบายความรู้สึก รวมถึงมีผู้ใหญ่สักคนแนะนําาให้คําาปรึกษาอย่างใกล้ชิด
4. Severe Stress เครียดระดับรุนแรง
เป็นความเครียดระดับสูงและเรื้อรังต่อเนื่องจนทําาให้คนคนนั้นมีความล้มเหลวในการปรับตัว และก่อให้เกิดความผิดปกติและเกิดโรคต่างๆที่รุนแรงขึ้นมาได้ เช่น อารมณ์แปรปรวน มีอาการทางจิต มีความบกพร่องในการดําาเนินชีวิตประจําาวัน ซึ่งอาจมีอาการนานเป็นสัปดาห์ เดือน หรือปี ควรเข้ารับการปรึกษาจากแพทย์
บทความแนะนำ: ยาอายุวัฒนะ ของดีใกล้ตัวแบบไม่ต้องใช้เงิน | 5 ข้อดีของ "การยิ้ม" ที่มีดีมากกว่าที่คุณคิด | Lifestyle ให้ชีวิตมีความสุข
ทำอย่างไรจึงจะหายจากอาการเครียดได้?
วิเคราะห์หาสาเหตุที่ทำให้เกิดความเครียด พิจารณาดูว่าสามารถแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุได้หรือไม่ หากแก้ไขไม่ได้อาจต้องขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นเพื่อแก้ไขปัญหา เพราะบางครั้งปัญหานั้นอาจไม่ได้เกิดจากเราเพียงคนเดียวก็ได้
สารพัดวิธีในการจัดการกับความเครียด
- การผ่อนคลายทางร่างกาย เช่น การหายใจลึกๆ
- การออกกำลังกาย
- การพักผ่อน
- การรับประทานอาหาร
- การอาบน้ำอุ่น
- การระบายและการพูดคุย
- การลดความตึงเครียดทางจิตใจ เช่น การสร้างอารมณ์ขัน
- การคิดใทางบวก
- การดูหนัง ฟังเพลง
- การทำสมาธิ เป็นการใช้ความเงียบ เพื่อหยุดความคิดของตัวเอง ในเรื่องที่ทำให้เครียด
ไม่ว่าจะด้วยวิธีการไหนก็ตามแต่...ทุกอย่างขึ้นอยู่ที่สมองและจิตใจของคนเรามากกว่า ว่าคุณจะจัดการกับความคิดของตัวเองอย่างไร เพื่อที่จะไม่ทำให้ตัวเองเกิดความเครียด ตราบใดที่สมองสั่งการให้คุณเครียดมันก็จะส่งผลไปที่จิตใจด้วย
คุณรู้จัก "ความเครียด" ดีแค่ไหน?
Reviewed by ninesonson
on
พฤษภาคม 12, 2563
Rating: