ฮีตสโตรก ... ภัยร้ายที่มากับความร้อน
อุณหภูมิสูงมาก |
โรคฮีทสโตรก (Heat Stroke) หรือ โรคลมแดด ภัยเงียบที่มาพร้อมหน้าร้อน มีวิธีเช็คอาการเสี่ยง การปฐมพยาบาลและการป้องกันอย่างไรบ้าง? วันนี้เราจะมาบอกวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น และการป้องกันการเกิดโรคฮีตสโตรกกัน แต่ตอนนี้เรามารู้จักกับโรคนี้กันก่อนดีกว่าค่ะ
โรคฮีทสโตรก หรือ โรคลมแดด เป็นโรคที่เกิดจากการที่ร่างกายได้รับความร้อนมากเกินไป จนทำให้ความร้อนในร่างกายสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส โรคฮีตสโตรกนี้ สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนที่ได้รับความร้อนมากเกินไป แต่กลุ่มเสี่ยงหลักๆ ที่อาจจะเกิดอาการฮีตสโตรกได้ง่าย ได้แก่ กลุ่มคนผู้ใช้แรงงานที่ทำงานภายใต้แสงแดดที่ร้อนจัด รวมถึงทหารหรือนักกีฬาที่ไม่ได้เตรียมสภาพร่างกายให้พร้อมก่อนการออกแดด นอกจากนี้ผู้ที่มีอาการอดนอน ผู้ที่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง คนที่ดื่มเหล้าจัด เด็ก และผู้สูงอายุ ก็มีความเสี่ยงในการเกิดฮีตสโตรกเช่นเดียวกัน
อาการของโรคฮีทสโตรก
บทความแนะนำ: วิธีระงับอารมณ์โกรธ ลดอารมณ์ร้อนได้เร็วทันใจ | 6 วิธีคลายร้อนง่ายๆ (ไม่ต้องพึ่งแอร์) | "5 เมนูมะม่วงปั่น" ต้อนรับหน้าร้อน!
การปฐมพยาบาลช่วยเหลือเบื้องต้น
เมื่อเจอผู้ประสบเหตุเป็นลมกลางแดด การปฐมพยาบาลช่วยเหลือเบื้องต้นมีดังต่อไปนี้
1. ให้รีบน้ำผู้ป่วยเข้าที่ร่ม จัดให้นอนราบ
2. ยกเท้าขึ้นสูงทั้งสองข้าง คลายเสื้อผ้าที่รัดแน่นออกให้อากาศถ่ายเทได้ดีขึ้น 3. จากนั้นให้ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นหรือน้ำแข็งประคบตามซอกตัว ซอกคอ รักแร้ และซอกขา เพื่อลดอุณหภูมิภายในร่างกายผู้ป่วย ร่วมกับการใช้พัดลมเป่าระบายความร้อน
4. รีบนำส่งตัวผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด
วิธีการป้องกันการเกิดฮีตสโตรกง่ายๆ สามารถทำได้ดังนี้
1. ควรมีการเตรียมสภาพร่างกายให้เคยชินกับอากาศร้อน ด้วยการออกกำลังกายกลางแจ้งอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ครั้งละประมาณ 30-45 นาที
2. ควรดื่มน้ำ 1-2 แก้วก่อนออกจากบ้านในวันที่สภาพอากาศร้อนจัด หากต้องอยู่ภายใต้แสงแดดที่ร้อนจัดควรดื่มน้ำให้ได้ชั่วโมงละ 1 ลิตร เพื่อให้ร่างกายมีปริมาณที่เพียงพอ ชดเชยเหงื่อที่สูญเสียออกไปนั่นเอง
3. ควรเลือกสวมใส่เสื้อผ้าสีอ่อน ไม่หนา และระบายความร้อนได้ดี
4. ควรทาครีมกันแดดที่มีค่าเอสพีเอฟ 15+ ขึ้นไป
5. หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์หรือการกินยาแก้แพ้ก่อนออกจากบ้านหรือก่อนการออกกำลังกาย
6. หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่มีแสงแดดร้อนจัด
ฮีตสโตรก ... ภัยร้ายที่มากับความร้อน
Reviewed by ninesonson
on
พฤษภาคม 22, 2563
Rating: