คุณรู้จัก "การจาม" ดีแค่ไหน? - ninesonson.blogspot.com

คุณรู้จัก "การจาม" ดีแค่ไหน?

คุณรู้จัก "การจาม" ดีแค่ไหน?


"จาม" เป็นอาการที่ร่างกายใช้ขจัดหรือขับสิ่งแปลกปลอมที่ทำให้เกิดการระคายเคืองออกทางจมูกและปากอย่างแรงและรวดเร็ว ในขณะที่จามจะเกิดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อหน้าอกและกะบังลมอย่างฉับพลันไม่ทันตั้งตัว โดยมักมีสาเหตุจากเยื่อเมือกในจมูกเกิดการระคายเคือง อาการจามมักทำให้เกิดความรำคาญและรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันบ้าง แต่มักไม่ได้เกิดขึ้นจากปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงเสมอไป

การจาม เกิดจากการระคายเคืองในเยื่อเมือกจมูก

อาการจาม

อาการจามจะเกิดขึ้นอย่างฉับพลันและไม่สามารถควบคุมการกระจายลมหายใจที่ขับออกทางจมูกหรือทางปากได้ และอาจมีอาการอื่นๆ ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้จามเกิดขึ้นร่วมด้วยดังต่อไปนี้
-น้ำมูกไหล หรือคัดจมูก
-ตาแฉะ แสบตา หรือคันตา
-ไอ
-เจ็บคอ
หากพบว่าอาการจามเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จามร่วมกับมีไข้ ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และรักษาอาการด้วยตนเองแล้วอาการไม่ดีขึ้นหรือหายไป ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษา

สาเหตุของอาการจาม

อาการจามเป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นกับจมูก โดยจมูกมีหน้าที่กรองอากาศที่หายใจเข้าไปให้ปราศจากสิ่งสกปรกและเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งส่วนใหญ่สิ่งสกปรกและแบคทีเรียจะถูกดักจับไว้ในน้ำมูกและถูกย่อยโดยกรดในกระเพาะ แต่ในบางครั้งสิ่งสกปรกก็สามารถผ่านเข้าไปภายในจมูกและทำให้เกิดการระคายเคืองบริเวณเยื่อเมือกในจมูกและคอจนทำให้เกิดอาการจาม

ปัจจัยที่อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการจาม ได้แก่
สิ่งกระตุ้นจากสภาพแวดล้อม เช่น ฝุ่น ควัน มลภาวะทางอากาศต่าง ๆ สภาพอากาศแห้งหรือเย็น การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ละอองเกสรดอกไม้ เชื้อรา สะเก็ดผิวหนังของสัตว์ และการรับประทานอาหารรสเผ็ด
โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ (Allergic Rhinitis) เป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยจามอย่างต่อเนื่องและจามบ่อย เป็นหวัดหรือไข้หวัดจากการติดเชื้อไวรัส
การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาพ่นจมูกคอร์ติโคสเตียรอยด์
จามจากการเกิดปฏิกิริยาหลังสัมผัสกับแสงสว่างจ้า (Photic Sneeze Reflex)
เกิดการบาดเจ็บที่จมูก การถอนยาบางชนิด เช่น ยากลุ่มโอปิออยด์

วิธีการ “จาม” ที่ถูกต้องในยุค COVID-19

มีแพทย์หลายคนออกมาแนะนำเกี่ยวกับการ “จาม” ที่ถูกต้อง โดยเฉพาะในช่วงวิกฤติโรคระบาด COVID-19 ยิ่งต้องใส่ใจและระมัดระวังเรื่องการจามให้มากขึ้น โดยมีข้อมูลจาก ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติสหรัฐฯ (Centers for Disease Control and Prevention – CDC) ระบุว่า การปิดปากไอและจามและล้างมือ เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับมาตรการควบคุมการติดเชื้อในสถานพยาบาล เช่น แผนกฉุกเฉินสำนักงานแพทย์และคลินิก เพื่อช่วยหยุดการแพร่กระจายของเชื้อโรค ส่วนบุคคลทั่วไปก็ควรปฏิบัติด้วยเช่นกัน ดังนี้
- พกผ้าเช็ดหน้าหรือทิชชู่ติดคตัวไว้ตลอดเวลา เมื่อจะไอหรือจามให้ใช้กระดาษทิชชูปิดปากและจมูกทุกครั้ง
- หลังการจามเสร็จ ทิ้งกระดาษทิชชู่ลงถังขยะ แล้วล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง
- หากไม่มีผ้าหรือทิชชู่ ให้จามใส่ข้อพับข้อศอกของคุณ ไม่ใช่จามใส่มือ!
- หลังจากจามไม่ว่าด้วยวิธีใดก็ตาม ต้องล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่และน้ำอย่างน้อย 20 วินาที หรือใช้เจลแอลกอฮอล์

อันตรายที่เกิดได้ หากคุณ “กลั้นจาม”

การ “กลั้นจาม” จนมีอาการป่วยและต้องรีบมาพบแพทย์นั้น เป็นเหตุการณ์ที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน นอกจากจะทำให้มีลมดันเข้าไปในเนื้อสมอง ยังอาจส่งผลอันตรายอื่นๆ ต่อร่างกายได้อีกหลายอย่าง เช่น
- แก้วหูแตก: แรงดันสูงจะถูกสร้างขึ้นในระบบทางเดินหายใจเมื่อคุณกำลังจะ “จาม” จากนั้นอากาศจะเข้าไปในหูของคุณอากาศที่มีความดันนี้ จะไหลลงสู่ท่อในหูแต่ละข้างของคุณที่เชื่อมต่อกับหูชั้นกลางและแก้วหู หากกลั้นจามเอาไว้ มีความเป็นไปได้ที่ความดันจะทำให้แก้วหูของคุณแตก ส่งผลให้สูญเสียการได้ยิน
- หูชั้นกลางอักเสบ: การจามคือการปล่อยลม (พร้อมกับเชื้อโรค) ออกจากร่างกายอย่างรวดเร็วและรุนแรง สมมติว่าเกิดการเปลี่ยนทิศทางลม แทนที่ลมจะออกมาทางจมูกตามปกติ แต่เมื่อคุณ “กลั้นจาม” ลมนั้นก็จะดันเข้าไปในช่องหูชั้นกลาง เชื้อโรคที่มาพร้อมกับลมจามก็จะติดอยู่ในชั้นหู ทำให้เกิดการติดเชื้อได้
- หลอดเลือดฝอยเสียหาย: มีความเป็นไปได้ที่การ “กลั้นจาม” ทำให้เกิดความดันในร่างกายเพิ่มขึ้น และสามารถทำให้หลอดเลือดฝอยในโพรงจมูกถูกบีบอัดและระเบิด แต่โชคดีที่การบาดเจ็บดังกล่าวมักทำให้เกิดความเสียหายเพียงเล็กน้อย เช่น ทำให้ตาและจมูกเป็นสีแดง เป็นต้น
- กะบังลมเกิดแผลฉีกขาด: กะบังลมเป็นกล้ามเนื้อที่อยู่บริเวณหน้าอกเหนือท้องของคุณ การบาดเจ็บที่กระบังลมเกิดขึ้นได้ยาก แต่ถ้าในกรณีของอากาศที่มีแรงดันสูง จากการ “กลั้นจาม” ก็อาจเป็นสาเหตุให้กะบังลมฉีกขาดได้
คุณรู้จัก "การจาม" ดีแค่ไหน? คุณรู้จัก "การจาม" ดีแค่ไหน? Reviewed by ninesonson on พฤษภาคม 28, 2563 Rating: 5
ขับเคลื่อนโดย Blogger.